Citation Style: APA
การอ้างอิงในเนื้อหาเป็นการบอกข้อมูลอย่างย่อเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าแนวคิดหรือข้อความนั้นเป็นของผู้ใด โดยรายการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) จะปรากฏแทรกอยู่ในเนื้อหาของรายงาน มี 2 รูปแบบคือ 1) การอ้างอิงแบบในวงเล็บ (parenthetical citation) และ 2) การอ้างอิงแบบเชิงบรรยาย (narrative citation) รายการอ้างอิงในเนื้อหาทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้ในรายการอ้างอิงท้ายเล่ม (Reference list)
การอ้างอิงในเนื้อหา ประกอบด้วย ชื่อสกุลของผู้แต่ง (กรณีภาษาไทยให้ใช้ทั้งชื่อและนามสกุล) และปีที่พิมพ์ ซึ่งมักเรียกการอ้างอิงในเนื้อหานี้ว่า “การอ้างอิงแบบนามปี”
รูปแบบ
เงื่อนไข | การอ้างอิงแบบในวงเล็บ (Parenthetical citation) | การอ้างอิงแบบเชิงบรรยาย (Narrative Citation) | Reference no. |
ผู้แต่งคนเดียว | …… (สุภางค์ จันทวานิช, 2557)…. …… (Lupton, 2020) …….. | สุภางค์ จันทวานิช (2557) กล่าวว่า.. Lupton (2020) said……… โดยทั่วไปถ้ากล่าวถึงผู้แต่งในครั้งที่ 2 เป็นต้นไป หรือกล่าวถึงผู้แต่งซ้ำในย่อหน้าเดียวกัน ไม่ต้องใส่ปีที่พิมพ์ | 8.10 |
ผู้แต่ง 2 คน – ใช้เครื่องหมาย & ระหว่างผู้แต่งทั้ง 2 คน | ….. (พีรดร แก้วลาย และขวัญ พงษ์หาญยุทธ, 2562)…… …. (Salas & D’Agostino, 2020) | พีรดร แก้วลาย และขวัญ พงษ์หาญยุทธ (2562) กล่าวว่า…… Salas and D’Agostino (2020)……. | |
ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป – ผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า และคนอื่น ๆ หรือ และคณะ หรือ et al. | …. (จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และคนอื่น ๆ, 2566)…. ……. (Pappas, 2022) | จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และคนอื่น ๆ (2566) กล่าวว่า…. Pappas ( 2022) said………… | |
องค์กร/นิติบุคคล | กรณีมีชื่อย่อขององค์กร: อ้างถึงครั้งแรก: …. (American Psychological Association [APA], 2017) อ้างถึงครั้งที่ 2 เป็นต้นไป: ……(APA, 2017) กรณีไม่มีชื่อย่อขององค์กร: อ้างถึงครั้งแรก: …… (Standford University, 2020) อ้างถึงครั้งที่ 2 เป็นต้นไป: …… (Standford University, 2020) | ||
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง-ใช้ชื่อเรื่องแทนชื่อผู้แต่ง -การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ตัวตรงหรือเอียง ให้เหมือนกับในบรรณานุกรม | หนังสือ: ……(Interpersonal Skill, 2019) บทความวารสาร: ……. (“Understanding Sensory Memory”, 2018) | 8.14 | |
ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ – ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แทนปีที่พิมพ์ | …..(Sifuentes, n.d.) | 8.10 | |
ผู้แต่งคนเดียวกันและปีที่พิมพ์เหมือนกัน ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก a, b, c หรือ ก,ข,ค ตามหลังปีที่พิมพ์ | …. (Judge & Kammeyer-Mueller, 2012a) …. ((Judge & Kammeyer-Mueller, 2012b) | 8.19 | |
อ้างถึงผลงานหลายเล่ม | -ผลงานหลายเล่ม ชื่อผู้แต่งเหมือนกัน เรียงลำดับดังนี้ ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์, ปีที่พิมพ์เลยน้อยไปหามาก : ………….(Department of Veterans Affairs, n.d., 2017a, 2017b, 2019) -ผลงานหลายเล่ม ชื่อผู้แต่งไม่เหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับอักษรของชื่อผู้แต่ง และใช้เครื่องหมาย ; คั่นแต่ละเล่ม : ……….. (Adams et al., 2019; Schumway & Schulman, 2015; Westinghouse, 2017) | 8.12 | |
นามสกุลเหมือนกัน และชื่อต้นไม่เหมือนกัน | ระบุชื่อต้นในการอ้างอิงในเนื้อหาด้วย เช่น ….. (J.M. Taylor,2015; T. Taylor, 2020) | 8.20 | |
ระบุเลขหน้า | …… (Alderson-Day & Fernhough, 2015, p. 957) | Alderson-Day & Fernhough (2015)……………….… (p. 957) | 8.13 |
อ้างถึงผลงานทุติยภูมิ (อ้างถึงใน) | …. (Rabbitt, 1982, as cited in Lyon et al., 2014) | Allport’s diary (as cited in Nicholson, 2003)…….. | 8.6 |
ผลงานแปล หรือ reprintded ให้ใส่ปีที่พิมพ์ทั้งผลงานเดิมและปีที่พิมพ์ของผลงานแปล | (Piaget, 1996/2000) | Freud (1900/1953) | 8.15 |
กรณีอ้างถึงผลงานเดิมครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ในย่อหน้าเดียวกัน – การอ้างอิงแบบบรรยายไม่ต้องใส่ปีที่พิมพ์ แต่ในการอ้างอิงในวงเล็บให้ระบุปีพิมพ์ทุกครั้ง | Koehler (2016)……… ………………………… …… Koehler …………. …………………………. | Koehler (2016)……………………………. ……………………………………………… (Koehler, 2016)……………………….. | 8.16 |
บทสัมภาษณ์ส่วนตัว (Personnel communication) ** ไม่ต้องใส่ รายการอ้างอิง ** | (T. Nguyen, personal communication, February 24. 2020) | E. M. Paradise (personal communication, August 8, 2019) | 8.8, 8.9 |
พระราชบัญญัติ | (ชื่อพระราชบัญญัติ, ปีที่พิมพ์) | ชื่อพระราชบัญญัติ (ปีที่พิมพ์) | 11.5 |
แหล่งทุติยภูมิ | (rabbit, 1982, as cited in Lyon et al., 2014) | Allports’ diary (as cited in Nicholson, 2003) | 8.6 |
รายการอ้างอิง (Reference lists) คือรายการของผลงานที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหา อันเป็นการสนับสนุนแนวความคิดในเอกสารนั้น ๆ แตกต่างกับ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งหมายถึง รายการของผลงานที่ใช้อ้างอิงภูมิหลัง หรืออ่านเพื่อสนับสนุนภูมิหลังด้วย ประโยชน์ของรายการอ้างอิงเพื่อให้ผู้อ่านสามารถสืบค้น หรือติดตามอ่านเอกสารที่มีแนวคิดเกี่ยวข้องได้ดังนั้นข้อมูลที่แสดงในรายการอ้างอิงจึงจำเป็นต้องถูกต้องและสมบูรณ์
- ชาวต่างประเทศ ใช้นามสุกลขึ้นก่อน ตามด้วยเครื่องหมาย , และอักษรย่อของชื่อต้น
- ชื่อภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของชื่อ ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอื่น ๆ ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ทั้งชื่อต้นและนามสกุล
- ไม่ระบุชื่อตำแหน่งทางวิชาการ คำเรียกทางวิชาชีพ และยศ ต่าง ๆ
- ใช้เครื่องหมาย , แยกระหว่างผู้แต่งแต่ละคน และใช้เครื่องหมาย & ก่อนถึงผู้แต่งคนสุดท้าย ภาษาไทยใช้คำว่า “และ”
- กรณีเป็นชื่อนิติบุคคลมีหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ใช้ชื่อหน่วยงานที่ตรงที่สุด แล้วระบุชื่อหน่วยงานใหญ่ในสำนักพิมพ์ กรณีที่ต้องใส่ทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อนแล้วตามด้วยหน่วยงานย่อย (คั่นด้วยเครื่องหมาย ,)
- กรณีเป็นชื่อนิติบุคคล ไม่ใส่เครื่องหมาย , เพื่อแยกระหว่างนิติบุคคลแต่ละองค์กร
- ใส่ชื่อผู้แต่งได้ถึง 20 คน กรณีผู้แต่ง 21 คนขึ้นไป ใส่ชื่อผู้แต่ง 19 คน ตามด้วย … และผู้แต่งคนสุดท้าย
- กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่องแทนชื่อผู้แต่ง และใช้รูปแบบ (ตัวเอียง)เหมือนกับที่ใช้ในบรรณานุกรม
- กรณีมีชื่อผู้แต่งและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่นผู้แปล ผู้เล่าเรื่อง ให้ใส่ชื่อผู้เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องกลับนามสุกลมาก่อน ไว้หลังชื่อเรื่อง โดยใส่ชื่อ , และความเกี่ยวข้อง ไว้ในวงเล็บ ดังตัวอย่าง (Ex.23 P.322)
Meadows, D. H. (2008). Thinking in systems: A primer (D. Wright, Ed.). Chelsea Green Publishing.
เดวิด โบห์ม. (๒๕๖๒). ว่าด้วยสุนทรียสนทนา. (เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, ผู้แปล). ภาพพิมพ์.
- ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร ชื่อเว็บเพจ ใช้ตัวเอียง แต่ชื่อบทความวารสาร ชื่อบทหนึ่งของหนังสือ ใช้ตัวตรงธรรมดา
- ชื่อภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องหลักและชื่อเรื่องรองเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอื่น ๆ ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ
- กรณีไม่มีชื่อเรื่องให้ใส่อธิบายของงานชิ้นนั้นในวงเล็บเหลี่ยม
- เรียงตามลำดับอักษรผู้แต่งคนแรก
- กรณีผู้แต่งคนแรกคนเดียวกัน ให้เรียงตามลำดับอักษรของผู้แต่งคนถัดไป
- กรณีผู้แต่งคนเดียวกัน ให้เรียงลำดับตามปีที่พิมพ์ จากปีเก่า มาปีใหม่
- กรณีผู้แต่งคนเดียวกัน และปีพิมพ์เดียวกัน ให้ใส่ตัวพิมพ์เล็ก a, b, c หลังปีที่พิมพ์ ทั้งในอ้างอิงในเนื้อหา (in-text citation) และ รายการอ้างอิง ( Reference list)
รูปแบบ
Author | Date | Title | Source | Reference no. | |
Periodical information | DOI or URL | ||||
นามสกุล, อักษรย่อชื่อต้น. | (ปีที่พิมพ์) | ชื่อบทความ | ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า | http://doi.org/xxxx | |
Author, A. A., & Author, B. B. | (2020). | Title of Article. | Title of Periodical, 34(2), 5-14. | http://doi.org/xxxx | |
Name of group | (2020, January). | Title of Periodical, 2(1-2), Article 12. | http://xxxxxx |
บทความวารสารมี DOI / URL (Journal article with DOI/URL)
McCauley, S. M., & Christiansen, M. H. (2019). Language learning as language use: A cross-linguistic model of child language development. Psychological Review, 126(1), 1-51. http://doi.org/10.1037/rev0000126
บทความวารสารที่มีหมายเลขบทความหรือ eLocator
Burin, D., Kiteni, K. & Pia, L. (2019). Body ownership increases the interference between observed and executed movements. PLSO ONE, 14(1), Article e0209899. https://doi.org/10.1027/1618-3169/a000440
บทความวารสารอยู่ระหว่างการจัดพิมพ์ (Journal article, in press)
Pachur, T., & Scheibehenne, B. (in press). Unpacking buyer-seller differences in valuation from experience: A cognitive modeling approach. Psychonomic Bulletin & Review.
บทความวารสารตีพิมพ์ออนไลน์ล่วงหน้า (Journal article, advance online publication)
Huestedgge, S. M., Raetting, T., &Huesteffe, L. (2019). Are face-incongruent voices harder to process. Experimental Psychology. Advance online publication. https://doi.org/10.1027/1618-3169/a000440
รูปแบบ
Author or editor | Date | Title | Source | Ref. No. | |
Publication information | DOI or URL | ||||
Author, A. A., & Author, B. B. | 2020 | Title of book. | Publisher Name. | 10.2 | |
Name of Group | Title of book. (2nd ed., Vol.4). | First Publisher Name; Second Publisher Name. | https://xxxxxx | ||
Editor, E. E. (Ed.) | Title of book. [Audiobook]. | ||||
Editor, E. E., & Editor, F. F. (Eds.) | Title of book (E. E. Editor, Ed.). | ||||
Title of book (T. Translator, Trans.; N. Narrator, Narr.). |
หนังสือมี DOI
Brown, L. S. (2018). Ferminist therapy (2nd ed.)American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000092-000
หนังสือไม่มี DOI หรือ หนังสือฉบับพิมพ์
Burgess, R. (2019). Rethinking global health: Frameworks of power. Routledge.
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือหนังสือเสียงไม่มี DOI
Cain, S. (2012). Quiet: The power of introverts in a world that can’t stop talking (K. Mazur, Narr.)[Audiobook]. Random House Audio. http://bit.ly/2GOBpbl
หนังสือมีบรรณาธิการ
Hacker Hughes, J.(Ed.). (2017). Military veteran psychological health and social care: Contemporary approaches. Routledge.
หนังสือในภาษาอื่น
Piaget, J., & Inhelder, B. (1966). La psychologie de l’enfant [The psychology of the child]. Quadrige.
หนังสือชุด 1 เล่ม
Fiske, S. T., Gilbert, D. T., & Lindzey, G. (2010). Handbook pf social psychology (5th ed., Vol.1) John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9780470561119
Travis, C. B., & White, J. W. (Eds.). (2018). APA handbook of the psychology of women: Vol. 1. History, theory, and battlegrounds. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000059-000
พจนานุกรม สารานุกรม
Graham, G. (2019). Behaviorism. In E. N. Zalta (Ed.), The Stanford encyclopedia of philosophy (Summer 2019 ed.). Stanford University. https://plato.stanford.edu/archives/ sum2019/entries/behaviorism/
บทหนึ่งของหนังสือ (ref no. 10.3)
รูปแบบ
Chapter author | Date | Chapter title | Source | |
Edited book information | DOI or URL | |||
Author, A. A., & author, B. B. | (2020). | Title of chapter. | In E. E. Editor (Ed.), title of book (pp. 3-13). Publisher name. | https://doi.org/xxxx |
Name of group | In E. E. Editor & F. F. Editor (Eds.), Tiele of book (3rd ed., Vol.2, pp.212-255). Publisher name. | https://xxxxxx |
บทหนึ่งของหนังสือที่มี DOI
Balsam, K. F., Martell, C. F., Jones, K. P., & Safren, S. A. (2019). Affirmative cognitive behavior therapy with sexual and gender minority people. In G. Y. Iwamasa & P. A. Hays (Eds.), Culturally responsive cognitive behavior therapy: Practice and supervision (2nd ed., pp.287-314). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000119-012
บทหนึ่งของหนังสือที่ไม่มี DOI หรือหนังสือฉบับพิมพ์
Wienstock, R., Long, G. B., & Silva, J. A. (2003). Defining forensic psychiatry: Roles and responsibilities. In R. Rosner (Ed.), Principles and practice of forensic psychiatry (2nd ed., pp.7-13). CRC Press.
บทหนึ่งของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือหนังสือเสียงไม่มี DOI
Tafoya, N., & Del Vecchio, A. (2005). Back to the future: An examination of the native American Holocaust experience. In M. McGoldrick, J. Gordano, & N. Garcia-Preto (Eds.), Ethnicity and family therapy (3rd ed., pp. 55-63). Guilford Press. http://aco/36xRhBt
บทหนึ่งของหนังสือฉบับพิมพ์ซ้ำจากบทความวารสาร
Sacchett, C., & Humphreys, G. W. (2004). Calling a squirrel but a canoe a wigwarm: a category-specific deficit for artefactual objects and body parts. In D. A. Balota & E. J. Marsh (Eds.), Cognitive psychology: Key readings in cognition (pp.100-108). Psychology Press. (Reprinted from “Calling a squirrel but a canoe wigwarm: A category-specific deflict for artefactual objects and body parts,” 1992, Cognitive Neuropsychology, 9[1], 73-86, https://doi.org/d4vb59)
บทหนึ่งของหนังสือฉบับพิมพ์ซ้ำจากหนังสือเล่มอื่น
Bronfenbrenner, U. (2005). The social ecology of human development: A retrospective conclusion. In U. Bronfenbrenner (Ed.), Making human beings human: Bioecological perspectives on human development (pp. 27-40). SAGE Publications. (Reprinted from Brain and intelligence: The ecology of child development, pp. 113-123, by F. Richardson, Ed., 1973, National Educational Press)
บทหนึ่งของหนังสือจากงานที่มีหลายเล่ม (Multivolume work)
Goldin-Meadow, S. (2015). Gesture and cognitive development. In L. S. Liben & U. Muller (Eds)., Handbook of child psychology and developmental science: Vol. 2. Cognitive processes (7th ed., pp. 339-380). John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9781118963418.childpsy209
บทความนำเสนอในที่ประชุม
Author | Date | Title | Source | |
Publisher information | DOI or URL | |||
Presenter, A. A., & Presenter, B. B. | (2020, September 18-20). | Title of Contributor [type of contribution]. | Conference name, Location. | https://xxxxx |
Maddox, S., Hurling, J., Stewart, E., & Edwards, A. (2016, March 30-April 2). If mama ain’t happy, nobody’s happy: The effect of parental depression on mood dysregulation in children [Paper presentation]. Southeastern Psychological Association 62nd Annual Meeting, New Orleans, LA, United States.
บทความในหนังสือการประชุม
Author | Date | Title | Source | |
Publisher information | DOI or URL | |||
Contributor, A. A., & Contributor, B. B. | (2020, September 18-20). | Title of Contributor [type of contribution]. | In C. C. Chairperson (Chair), Title of symposium [Symposium]. Conference name, Location. | https://xxxxx |
Fistek, A., Jester, E., & Sonnenberg, K. (2017, July 12-15). Everybody’s got a little music in them: Using music therapy to connect, engage, and motivate [Conference session]. Autism Society National Conference, Milwaukee, WI, United States. https://asa.confex.com/asa/2017/webprogramarchives/Session9517.html.
Infographic (Ref. no. 10.14)
Rossman, J., & Palmer, R. (2015). Sorting through our space junk [Infographic]. World Science Festival. https://www.worldsciencefestival.com/2015/11/space-junk-infographic/
Powerpoint slides or lecture notes
Canan, E., & Vasilev, J. (2019, May 22). [Lecture notes on resource allocation]. Department of Management Control and Information Systems, University of Chile. https://uchilefau.academia.edu/ElseZCanan
Housand, B. (2016). Game on! Integrating games and simulations in the classroom [Power Point slides]. SlideShare. https://www.slideshare.net/brainhousand/game-on-iagc-2016/
Audiovisual Works
Youtube video or other streaming video
University of Oxford. (2018, December 6). How do geckos walk on water? [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?V=qm1xGfOZjc8
Online media (Ref. No. 10.15)
Facebook page
Smithsonian’s National Zoo and Conservation Biology Institute. (n.d.). Home [Facebook page]. Facebook. Retrived July 22} 2019. From https://www.facebook.com/nationalzoo.
Webpages and websites (Ref. No. 10.16)
Webpage on a website with no date (กรณีเนื้อหาในหน้าเว็บไม่เปลี่ยนแปลง-เป็นรูปแบบของการอ้างอิงหน้าเว็บส่วนใหญ่)
Centers for Diseases Control and Prevention. (2018, January 23). People at high risk for flu complications. U.S. Department of Health and Human Services. https://www.cdc.gov/flu/about/disease/ high_risk.htm
Webpage on a website with a retrieval date (กรณีเนื้อหาในหน้าเว็บเปลี่ยนแปลงบ่อย)
U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved July 3, 2019, from http://www.census.gov/popclock/
Webpage on a news website (อ้างอิงจากเว็บไซต์ข่าว)
Avramova, N. (2019, January 3). The secret to a long, happy life? Think age positive. CNN. http://www.cnn.com/2019/01/03/health/respect-toward-elderly-leads-to-long-lifr-intl/index.html.
Wikipedia (Ref. No. 10.3 )
List of oldest companies. (2019, January 13). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php? title=List_of_oldest_companies&ildid=878158136
Interview (Ref. No. 8.8, 8.9, )
บทสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 ประเภท
- บทสัมภาษณ์ที่เผยแพร่ (Published interviews) เช่นในบทความวารสาร นิตยสาร วิทยุ podcast youtube ให้อ้างอิงตามประเภทของสื่อนั้น ๆ
- บทสัมภาษณ์ส่วนบุคคล (Personal communication) เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักในงานเขียน ให้อ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Ref. No. 8.9) คือไม่มี reference list มีเฉพาะ in-text citation เช่น แบบวงเล็บ (T. Nguyen, personal communication, February 24. 2020) แบบเชิงบรรยาย M. Paradise (personal communication, August 8, 2019)
- Research participant interviews ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัย ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงเพราะเป็นผลงานของผู้แต่งเอง
ในเอกสารขึ้นต้นด้วยแหล่งปฐมภูมิ ตามด้วยคำว่า “อ้างถึงใน” “as cited in” และแหล่งทุติยภูมิ เช่น
(Rabbit, 1982, as cited in Lyon et al., 2014)
สำหรับการอ้างอิงท้ายบทความ/ท้ายเล่ม ให้ใช้แหล่งทุติยภูมิ